ต้องการโอนอสังหาริมทรัพย์แต่เจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ต่างประเทศ ทำอย่างไร?

 

 

กรณีเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ต่างประเทศ แต่อสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองอยู่ในประเทศไทยมีผู้ซื้อต้องการซื้อ และไม่สามารถจะกลับมาทำธุรกรรมการขายได้ ส่วนที่เจ้าของกรรมสิทธิ์จะต้องทำนั้นก็คือ “การมอบอำนาจ” ให้กับผู้อื่นไปทำการแทน การมอบอำนาจจะมีขั้นตอนอย่างไรและมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

 

– ผู้รับมอบอำนาจควรเป็นใคร?

1. ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
2. บิดา, มารดา
3. ญาติพี่น้อง

 

 

– ขั้นตอนการดำเนินการมอบอำนาจ ขณะที่ผู้มอบอำนาจอยู่ต่างประเทศ
1. การทำหนังสือมอบอำนาจ สามารถใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินเท่านั้น
• ระบุสถานที่ ที่เซ็นมอบอำนาจ (สามารถเป็นที่บ้านพักอาศัยในต่างประเทศได้เลย)
• ระบุวันที่ให้ตรงกับวันที่ไปทำการรับรอง
• ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่า มอบอำนาจให้ใครทำอะไรแทน เช่น การซื้อขาย, การจำนอง ฯลฯ
• สำเนาพาสปอร์ตละสำเนาบัตรประชาชน
**เพื่อความสะดวกและครบถ้วนควรใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดิน โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มมอบอำนาจและดูตัวอย่างได้ที่เว็ปไซต์กรมที่ดิน**
2. ผู้ร้องต้องมายื่นคำร้องขอทำหนังสือมอบอำนาจด้วยตัวเองที่สถานเอกอัครราชฑูตฯ, สถานกงสุลหรือโนตารี พับลิค (Notary public) เพื่อให้เซ็นรับรองพร้อมประทับตรา เป็นการรับรองตัวตนว่าเป็นตัวผู้ขายจริง ไม่ใช่การเซ็นรับรองข้อความในใบมอบอำนาจ โดยตราประทับและลายเซ็นของผู้รับรองจะต้องอยู่บนใบมอบอำนาจเท่านั้น ไม่แยกในเอกสารอื่น
โนตารี พับลิค (Notary public) หมายถึง บุคคลที่กฎหมายของประเทศนั้นๆบัญญัติไว้ให้ทำหน้าที่รับรองเอกสาร สัญญาหรือนิติกรรมต่างๆลงลายมือชื่อในฐานะพยานเพื่อให้เอกสารนั้นๆ มีความน่าเชื่อถือและใช้ยืนยันในต่างประเทศได้ โดย โนตารี พับลิค จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ตามกฎหมายหรือระเบียบของรัฐนั้นๆ

 

 

– ข้อควรระวังในการทำหนังสือมอบอำนาจ
1. กรอกเครื่องหมายหนังสือสำคัญสำหรับี่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เช่น ตึก, บ้านเรือน, โรง ให้ชัดเจน
2. ระบุเรื่องและอำนาจจัดการให้ชัดเจนว่ามอบอำนาจเพื่อทำอะไร เช่น ซื้อขาย, จำนอง, หรืออื่นๆหากมีก็ให้ระบุไว้ด้วย
3. ลายเซ็นบนใบมอบอำนาจ ทั้งผู้มอบอำนาจและผู้เซ็นรับรองควรเป็นปากกาหมึกสีน้ำเงิน เพราะเจ้าหน้าที่กรมที่ดินจะพิสูจน์ได้ง่ายว่าเป็นน้ำหมึกจริง ไม่ใช่การถ่ายเอกสาร
4. ถ้ามีการขูดลบ เติม แก้ไข หรือ ขีดฆ่า ให้ระบุว่าขีดฆ่าตกเติมกี่คำ และผู้มอบอำนาจจะต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ด้วยทุกแห่ง
5. อย่าลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจก่อนจะมีการกรอกข้อความครบถ้วนและถูกต้องตามความประสงค์หรืออย่าลงชื่อในกระดาษเปล่าที่ยังไม่มีการกรอกข้อความเป็นอันขาด
6. ให้มีพยานอย่างน้อย 1 คน ถ้าผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือต้องมีพยาน 2 คน และพยานจะต้องเซ็นชื่อเท่านั้น จะไม่สามารถพิมพ์ลายนิ้วมือได้

 

 

ทั้งนี้ มาตรา 805 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้มีบางเรื่อง ซึ่งผู้มอบอำนาจเป็นผู้รับมอบอำนาจได้จากทั้งสองฝ่าย คือ เป็นตัวแทนทั้งฝ่ายผู้โอนและผู้รับโอน ในกรณีเช่นนี้ผู้รับมอบอำนาจจะต้องระบุไว้ในหนังสือมอบอำนาจด้วยว่า ยินยอมให้ผู้รับมอบเป็นผู้แทนอีกฝ่ายหนึ่งได้ด้วย
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง
สรุป 3 วิธีการถือครองอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย (กรณีชาวต่างชาติ)