กู้ร่วมซื้อบ้านด้วยกันแต่เมื่อเลิกกันต้องทำอย่างไร?

 

 

เมื่อความสัมพันธ์สิ้นสุดลง แต่ภาระหนี้สินที่ซื้อบ้านร่วมกันยังคงอยู่ การผ่อนชำระค่างวดก็ยังดำเนินต่อไป คำถามต่อจากนี้คือแล้วบ้านที่ซื้อร่วมกันจะตกเป็นของใคร, ควรจะขายทิ้งหรือจะต้องจัดการอย่างไรต่อจากนี้ ปัญหาเหล่านี้สามารถคลี่คลายได้หากมีการแก้ไขที่ถูกต้อง
วันนี้ IQI Thailand จะมาแนะนำวิธีจัดการปัญหากู้ร่วมซื้อบ้านแต่เมื่อเลิกกันต้องทำอย่างไร?

 

1. ถอดถอนชื่อผู้กู้ร่วม
ก่อนอื่นจะต้องแจกแจงว่าทรัพย์สินที่มีชื่อกู้ร่วมมีทรัพย์สินใดบ้าง เพื่อแจกแจงและทำการถอดถอนชื่อของอีกฝ่ายในข้อนี้จะถูกแบ่งเป็น 2 กรณีดังนี้
กรณีจดทะเบียนสมรส
คู่รักที่มีใบทะเบียนสมรส จะต้องดำเนินการหย่าให้เรียบร้อย นำหลักฐานการหย่าและใบสัญญาจะซื้อจะขายไปขอถอนชื่อผู้กู้ร่วมอีกชื่อออกจากสัญญาที่ทำกับธนาคาร ซึ่งเจ้าหน้าที่ธนาคารก็จะทำการเปลี่ยนรูปแบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสัญญาเงินกู้ฉบับใหม่
กรณีไม่ได้จดทะเบียนสมรส
ถ้าหากคู่รักไม่ได้จดทะเบียนสมรส ขั้นตอนจะไม่ยุ่งยากเพียงแต่ขึ้นอยู่กับการตกลงว่าใครจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่กู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น บ้าน/คอนโด/รถ เป็นต้น หลังจากนั้นต้องทำการถอดถอนชื่อของผู้กู้ร่วม โดยแจ้งความประสงค์กับเจ้าหน้าที่ธนาคารได้ว่าต้องการถือกรรมสิทธิ์เพียงคนเดียว จากนั้นธนาคารจะทำการประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ที่จะถือกรรมสิทธิ์ต่อไปว่าได้หรือไม่

 

 

 

2. รีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้คนเดียว
ขั้นตอนนี้เกิดขึ้นจากกรณีธนาคารเก่าไม่อนุมัติให้ถอดถอนชื่อของผู้กู้ร่วมออก หลังจากที่ธนาคารได้ทำการประเมินความสามารถของผู้ถือกรรมสิทธิ์คนต่อไปว่าไม่สามารถผ่อนชำระเพียงคนเดียวได้ วิธีนี้คือการรีไฟแนนซ์เพื่อขอกู้เพียงคนเดียว ธนาคารจะเป็นผู้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ โดยประเมินจากเงื่อนไข ดังนี้
• ข้อมูลต่างๆของผู้กู้ เช่น รายได้ของผู้กู้, ภาระหนี้สินอื่นๆ, ความมั่นคงของงาน เป็นต้น
• ยอดจำนวนเงินดาวน์ที่กู้ซื้อบ้าน
• ประวัติเครดิตบูโรหรือแบล็คลิสต์

 

 

3. ประกาศขาย
ทางออกสุดท้ายในกรณีไม่มีใครต้องการครอบครองทรัพย์สินนั้นๆ เมื่อตกลงกันเรียบร้อยและเป็นความยินยอมของทั้ง 2 ฝ่าย ขั้นตอนต่อไปในการเตรียมตัวมีดังนี้
• เตรียมความพร้อมและความเรียบร้อยก่อนขาย
• ตรวจสอบค่าใช้จ่ายต่างๆ คำนวณการตั้งราคาให้เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น
• เพิ่มโอกาสในการขายได้เร็วขึ้นด้วยการใช้บริการนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ช่วยทำการตลาด

 

 

เมื่อปิดการขายได้แล้ว การแบ่งกำไรจะต้องขึ้นอยู่กับว่าได้ทรัพย์สินนั้นๆก่อนมีการจดทะเบียนสมรสหรือไม่ เพราะในกรณีมีทรัพย์สินมีมาก่อนจดทะเบียนสมรส กำไรที่ได้จะตกให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของ แต่หากเป็นทรัพย์สินที่มีชื่อร่วมกันจะถือว่าเป็นสินสมรส ดังนั้นการแบ่งกำไรจะต้องเป็นวิธีการแบ่งคนละครึ่ง ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือ วิธีจัดการปัญหากู้ร่วมซื้อบ้านแต่เลิกรากัน สุดท้ายแล้วจะจัดการกับปัญหานี้อย่างไรก็ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของทั้ง 2 คนเพื่อหาทางออกให้ดีที่สุด
ข้อแตกต่าง ระหว่าง Refinance และ Retention เลือกแบบไหนใช่ที่สุด
เขียนประกาศ ขาย-เช่า อสังหาฯแบบไหน? ให้โดนใจลูกค้า