หากสังเกตในทะเบียนบ้านส่วนของใต้ชื่อบุคคลจะระบุสถานภาพของบุคคลนั้นๆเอาไว้ หนึ่งในนั้นคือสถานภาพ “เจ้าบ้าน” และหลายๆคนอาจจะเข้าใจว่าเจ้าบ้านก็คือ “เจ้าของบ้าน” แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2538 อธิบายสิทธิและบทบาทของทั้ง 2 คำนี้ไว้ดังนี้
ความหมายเจ้าของบ้าน และ เจ้าบ้าน
▪ เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิที่มีชื่อในโฉนดที่ดินสัญญาซื้อขาย
▪ เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นคนครอบครองดูแลบ้านหลังนั้นในฐานะ เจ้าของ, ผู้เช่า และอื่นๆ กรณีเจ้าบ้านเสียชีวิต, สูญหายหรือไม่มีเจ้าบ้านระบุในทะเบียนบ้าน
ผู้ที่ดูแลบ้านจะเป็นเจ้าบ้านแทนได้
ข้อควรรู้ : บุคคลหนึ่งสามารถเป็นเจ้าของบ้าน, ที่ดิน, คอนโดมิเนียม กี่หลังกี่ห้องก็ได้ แต่กรณีเจ้าของบ้านที่มีอสังหาฯมากกว่า 1 หลัง *จะไม่สามารถเป็นเจ้าบ้านได้เองทุกหลัง* เพราะในทะเบียนราษฎกำหนดไว้ว่า บุคคลหนึ่งสามารถมีภูมิลำเนาได้เพียงภูมิลำเนาเดียวเท่านั้น เนื่องจากจะมีผลกระทบต่อบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ดังนั้นผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านจะต้องแต่งตั้งเจ้าบ้านขึ้นมาเพื่อให้มีหน้าที่ดูแลผู้อยู่อาศัย โดยสามารถใช้เป็นชื่อ พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง ก็ได้
สิทธิเจ้าของบ้าน และ เจ้าบ้าน
▪ เจ้าของบ้าน หน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นผู้มีสิทธิในการขาย-โอน อสังหาฯ และสามารถถ่ายโอนให้แก่ผู้รับมรดกได้
▪ เจ้าบ้าน ตามกฎหมายทะเบียนราษฎร กำหนดให้เจ้าบ้านมีสิทธิ แจ้งเกิด-ตาย, แจ้งย้ายเข้า-ออก, ขอเลขที่บ้าน, สร้างใหม่-รื้อถอนหรืออื่นๆที่เกี่ยวกับบ้าน โดยสิทธิที่กล่าวข้างต้นจะต้องมีการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่นายทะเบียนภายในระยะเวลา 15 วันหลังจากได้กระทำการแล้ว หากแต่กรณีมีผู้เสียชีวิตจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง
ชื่อในทะเบียนบ้าน สามารถปล่อยว่างไว้ได้หรือไม่?
หากไม่สามารถนำชื่อ พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง ใส่ในทะเบียนบ้านได้ *ก็สามารถปล่อยว่างได้* แต่เมื่อไหร่ที่ต้องการขายอสังหาฯเเต่การถือครองไม่ถึง 5 ปี ก็จะต้องมีการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด กรณีจะยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะได้ก็ต่อเมื่อมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันได้มานั้นเอง
ทะเบียนบ้านมีกี่ประเภท? และข้อควรรู้ในการขอทะเบียนบ้าน
7 ลำดับผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกที่ดิน มีใครบ้าง?
สนใจอ่านบทความดีๆเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือต้องการฝากขาย-เช่า อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท ติดต่อ IQI Thailand (คลิก)