6 ขั้นตอนฟื้นฟู “บ้าน” หลังเหตุการณ์น้ำท่วม

 

 

น้ำท่วม เป็นภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายต่อผู้คน, สัตว์, ทรัพย์สินต่างๆ โดยเฉพาะบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและเราจะมีวิธีจัดการความเสียหายที่เกิดขึ้นเเละฟื้นฟูที่อยู่อาศัยหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมอย่างไรได้บ้าง
วันนี้ IQI Thailand นำเสนอ 6 ขั้นตอนฟื้นฟู บ้าน หลังเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้เข้าใจสถานการณ์ และแนวทางรับมือได้อย่างถูกต้อง

 

1. ประเมินความเสียหาย
หลังจากน้ำลดแล้ว อันดับแรกควรตรวจสอบความเสียหายของบ้านตั้งแต่ฝ้า, หลังคา, ผนัง, พื้น, เฟอร์นิเจอร์รวมไปถึงสัตว์มีพิษที่จะมาพร้อมกับน้ำ เช็กทุกซอกทุกมุมเพื่อความปลอดภัยและเตรียมทำความสะอาดพร้อมซ่อมแซมส่วนที่เสียหายต่อไป

 

 

2. ตรวจเช็กระบบไฟฟ้า (ไม่ควรรีบร้อนใช้งาน)
ตรวจสอบระบบไฟฟ้า เช่น ปลั๊ก, สวิตช์, สายไฟ ว่ามีร่องรอยชำรุด หรือ เปียกชื้นอยู่ได้ ไม่ควรรีบร้อนใช้งานโดยทันที จำเป็นจะต้องเรียกช่างหรือผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบก่อนเพื่อความปลอดภัย

 

 

3. ทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอก
ทำความสะอาดโดยกำจัดสิ่งสกปรกต่างๆออก โดยเฉพาะโคลนตมหากปล่อยทิ้งไว้นานจะกำจัดยาก เริ่มจากเก็บเศษขยะ สิ่งของที่ไม่ต้องการออกไปทิ้ง จากนั้นใช้สายยางฉีดล้างโคลนตมออกไป ใช้ไม้กวาดและไม้ถูพื้นทำความสะอาดคราบสกปรกที่พื้น อย่าลืมเปิดหน้าต่าง ประตู เพื่อให้อากาศถ่ายเทจากนั้นใช้น้ำยาทำความสะอาด

 

 

4. จัดการกับเฟอร์นิเจอร์ ของใช้
สำหรับเฟอร์นิเจอร์บางชิ้นที่โดนน้ำก็อาจจะไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้เลยทันที ควรที่จะต้องนำไปตากแดดให้แห้งก่อน แต่ใช่ว่าเฟอร์นิเจอร์ทุกชิ้นจะสามารถตากแดดได้ เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้แท้, พลาสติก, หรือหนัง หลังจากเช็ดทำความสะอาดไม่ควรนำไปตากแดดโดยตรงเพราะจะเกิดความโค่ง งอ เปลี่ยนรูปได้ ใช้วิธีเช็ดให้แห้งและตากไว้ในร่มแทน หรือหากเฟอร์นิเจอร์มีการอมน้ำมากๆ เช่น ฟูก, หมอน จะแนะนำให้ทิ้งเพราะจะมีการสะสมเชื้อโรคมาจากน้ำไม่จำเป็นที่จะนำกลับมาใช้ใหม่

 

 

5. ซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย
ฝ้า : หากมีน้ำสะสมบนฝ้าจำเป็นต้องระวังว่าจะมีการถล่มลงมาได้ จำเป็นจะต้องให้ช่างเข้ามาตรวจสอบ ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่
ผนัง : ถ้ามีความชื้นสูง ไม่ควรรีบร้อนทาสีใหม่โดยทันที เพราะอาจจะทำให้เกิดการหลุดลอกได้ง่ายควรปล่อยให้แห้งสนิทก่อน แล้วค่อยทาสีใหม่ (หากเป็นผนังไม้ก็เช่นกันควรทิ้งให้แห้งสนิทแล้วจึงค่อยใช้น้ำยารักษาเนื้อไม้ทาลงบนผิวไม้)
รั่ว : ถ้ากรณีรั่วเอียง จำเป็นต้องหาไม้มาค้ำยันด้านที่เอียงเอาไว้ หากเกิดเอียงมากเกินไปจนออกนอกแนวศูนย์ถ่วงเกินไป จำเป็นต้องเรียกช่างเข้ามาซ่อมแซม
พื้น : ก่อนอื่นเปิดประตูหน้าต่างให้ระบายความชื้น ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดสิ่งสกปรกหรือเครื่องขัดพื้น จะช่วยประหยัดแรงได้มาก สำหรับพื้นไม้ต้องเช็ดทำความสะอาด ตะไคร่ สิ่งสกปรกออก โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดต่างๆ หรือน้ำยาล้างจาน หาก พื้นไม้ร่อนบางส่วน ควรรื้อออกเช็ดด้วยน้ำสะอาด แล้วทิ้งให้แห้ง หากพบเชื้อรา ให้ใช้ผงฟูละลายน้ำเช็ด หรือแอลกอฮอล์เช็ด คราบเชื้อราออก
ประตู/หน้าต่าง : ถ้าเป็นประตูไม้ หากมีการบมผิดรูป แก้ไขโดยการถอดนำออกมาวางให้แห้งหรือหากไม่สามารถใช้งานได้จริงๆก็แนะนำให้เปลี่ยนบานใหม่ แต่ถ้าประตูที่เป็นสนิมให้นำน้ำยามาขัดสนิมก่อนแล้วเช็ดทำความสะอาด ก่อนจะทาสีใหม่

 

 

6. จัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันตัวเอง
การทำความสะอาดหลังจากน้ำท่วมก็เป็นเรื่องที่จะต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง ด้วยสิ่งสกปรก เชื้อโรคต่างๆที่มากับน้ำทั้งสารเคมี รวมถึงระบบไฟที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายได้ ฉะนั้นควรจะป้องกันโดยการสวมถุงมือยาง รองเท้าบู๊ทเพื่อไม่ให้ผิวหนังสัมผัสเชื้อรา สวมหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก ป้องกันการหายใจเอาสปอร์เชื้อราและไอระเหยของสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย

 

 

ภัยพิบัติที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ การเตรียมพร้อมวางแผนไว้เพื่อรับมือก็เป็นเรื่องที่ดี หลังจากน้ำลดแล้วก็ควรติดตามข่าวสารอย่างไกลชิด พร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำให้ถูกต้อง ร่วมแรงร่วมใจฟื้นฟูเพื่อให้ที่อยู่กลับมาสมบูรณ์และพร้อมเข้าอยู่อาศัยได้อีกครั้ง