7 ลำดับผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกที่ดิน มีใครบ้าง?

 

 

การรับมรดกที่ดิน คือ เมื่อผู้ที่มีชื่อในเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดินเสียชีวิต (โฉนดที่ดิน, น.ส., น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข.) ในทางกฏหมายที่ดินเหล่านั้นถือเป็นมรดก ซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทผู้ตายโดยตรงตามสิทธิหรือพินัยกรรมที่เจ้ามรดกได้ทำไว้
โดยวันนี้ IQI Thailand ชวนทุกคนมารู้จัก 7 ลำดับผู้ที่มีสิทธิในการรับมรดกที่ดินตามกฎหมาย เรียงลำดับดังต่อไปนี้

 

ตามกฎหมายมรดกที่ดิน การส่งมอบมรดกที่ดินให้กับผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
1. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าผู้ที่ได้รับมรดกที่ดินต้องเป็นผู้ที่มีสิทธิตามพินัยกรรม หรือผู้รับพินัยกรรม คือผู้ที่เป็นเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมก่อนเสียชีวิตเอาไว้เพื่อส่งต่อโดยระบุชื่อผู้สืบทอดเอาไว้ชัดเจนตามกฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
2. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าผู้ที่ได้รับมรดกที่ดินต้องเป็นทายาทโดยสิทธิตามกฎหมาย หรือทายาทโดยธรรม หากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ในกฎหมายมรดกที่ดินผู้ที่มีสิทธิ์ในการรับมรดกที่ดินจะเป็นไปตามกฎหมายที่มีการลำดับทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม ดังนี้

 

 

▶ 7 ลำดับผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกที่ดิน

ลำดับที่ 1 : ผู้สืบทอดสันดาน (บุตร, หลาน, เหลน, ลื้อ)
ลำดับที่ 2 : ภรรยาหรือสามี (ต้องจดทะเบียนสมรสกันเท่านั้น)
ลำดับที่ 3 : บิดาและมารดา
ลำดับที่ 4 : พี่น้องร่วมสายเลือด ทั้งบิดาและมารดาเดียวกัน
ลำดับที่ 5 : พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
ลำดับที่ 6 : ปู่, ย่า, ตา, ยาย
ลำดับที่ 7 : ลุง, ป้า, น้า, อา

 

 

▶ กฎหมายการแบ่งมรดกที่ดิน
1. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าหากเจ้ามรดกมีทายาทโดยธรรมตามลำดับ สิทธิจะเป็นของทายาทในลำดับต้นก่อน ทายาทลำดับถัดไปจะไม่มีสิทธิในการรับมรดกที่ดินนี้
2. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าคู่สมรสของเจ้ามรดกที่จดทะเบียนสมรสและยังมีชีวิตอยู่ ตามกฎหมายจะได้รับการแบ่งมรดกที่ดินระหว่างสามีภรรก่อน จึงค่อยนำส่วนที่เหลือไปแบ่งระหว่างทายาท ซึ่งหากคู่สมรสของเจ้ามรดกที่ยังมีชีวิตอยู่จะมีสิทธิรับอีกต่อหนึ่ง ในกรณีต่อไปนี้
– หากผู้รับมรดกที่ดินเป็นทายาทลำดับที่ 1 คู่สมสรของเจ้ามรดกจะได้รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินเหมือนทายาทชั้นบุตรตามกฎหมายกำหนด
– หากเจ้ามรดกไม่มีผู้สืบสันดาน มรดกที่ดินจะตกเป็นของคู่สมรสครึ่งหนึ่งอีกครึ่งหนึ่งจะตกเป็นของทายาทลำดับที่ 3 หรือ 4 ตามกฎหมายกำหนด
– หากผู้รับมรดกที่เป็นทายาทลำดับที่ 5, 6 หรือ 7 คู่สมรสจะได้รับมรดกที่ดินสองในสามส่วน ตามกฎหมายกำหนด
– หากไม่มีทายาทคู่สมรสจะได้รับมรดกที่ดินนั้นทั้งหมดตามกฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
3. กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่าทายาทที่ได้รับมรดกที่ดินในอันดับเดียวกันจะได้รับส่วนแบ่งเท่าๆกัน
4. กรณีมรดกที่ดินตกเป็นของทายาทลำดับที่ 1, 4, 5 หรือ 7 แต่ทายาทเสียชีวิต ผู้สืบสันดานของทายาทนั้นจะได้รับมรดกที่ดินแทนตามกฎหมายกำหนด
5. ในกรณีมรดกที่ดินตกเป็นของทางยาททลำดับที่ 3 หรือ 6 แต่ทายาทเสียชีวิต กฎหมายระบุไว้ว่าจะไม่มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป

 

 

▶ หลักฐานที่ต้องเตรียมสำหรับการขอที่ดินมรดก
เมื่อระบุผู้รับมรดกเรียบร้อย ขั้นตอนต่อไปคือ การเตรียมเอกสารและหลักฐานในการเเจ้งขอรับมรดกที่ดิน ตามกฎหมายมรดกที่ดินระบุถึงเอกสารที่จะต้องเตรียมมีดังนี้
1. ตามกฎหมายมรดกที่ดิน ระบุว่าต้องแสดงหนังสือสิทธิ์ โฉนดที่ดิน หรือ หนังสือรับรองทำประโยชน์มาสำหรับการดำเนินการตามขั้นตอน
2. ใบมรณะบัตรของเจ้ามรดก หรือ ทายาทที่เสียชีวิต
3. ทะเบียนสมรส, หย่า ของเจ้ามรดก
4. ทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทที่ยังมีชีวิตอยู่
5. ทายาทที่มีสิทธิรับมรดกที่ดินต้องไปสำนักงานที่ดิน หรือ นำเอกสารในการสละมรดกไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายมรดกที่ดิน
6. พินัยกรรม (ถ้ามี)
7. ถ้าผู้รับมรดกที่ดินมีฐานะเป็นคู่สมรสจำเป็นจะต้องมีหลักฐานการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายประกอบตามกฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
8. ถ้าผู้รับมรดกที่ดินเป็นบิดาของเจ้ามรดกจะต้องมีทะเบียนการสมรสกับมารดาของเจ้ามรดก หรือ หลักฐานการรับรองบุตรมาประกอบตามที่กฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
9. ถ้าผู้รับมรดกคือ บุตรบุญธรรมของเจ้าของที่ดินต้องแสดงหลักฐานการจดทะเบียนการรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมายมรดกที่ดินกำหนด
10. ถ้ามีกรณีพิพาทเกี่ยวกับมรดก ต้องนำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดมาแสดง
11. หากมีผู้รับมรดกที่ดินจำนวนหลายคนและบางคนถึงแก่กรรมไปแล้วจะต้องมีหลักฐานการเสียชีวิตของทายาทนั้นด้วย
12. กรณีมีผู้จัดการมรดกที่ดิน หลักฐานที่จะต้องนำไปแสดงตามกฎหมายมรดกที่ดิน คือ คำสั่งศาล, คำพิพากษาของศาล หรือพินัยกรรมซึ่งตั้งให้ผู้ขอเป็นผู้จัดการมรดกที่ดิน หลักฐานการเสียชีวิตของเจ้ามรดก ทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวของผู้จัดการมรดกที่ดิน โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

 

จากบทความข้างต้นอาจจะเป็นข้อมูลที่ให้ประโยชน์แก่หลายๆคนที่กำลังมีข้อสงสัยในส่วนของลำดับสิทธิการรับมรดก รวมถึงกฎหมายมรดกที่ดินเพื่อที่จะให้ได้ทำความเข้าใจและเตรียมความพร้อมป้องกันการเกิดข้อพิพาทอื่นๆตามมา